อัพเดทล่าสุด :
Home » » คณิตศาสตร์ของการแต่งเพลง

คณิตศาสตร์ของการแต่งเพลง

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555 | 0 ความคิดเห็น

...เคยสงสัยว่า โน๊ตดนตรีก็มีอยู่ไม่กี่ตัว จังหวะก็มีอยู่ไม่กี่จังหวะ ทำไมคนเราเล่นดนตรีกันมาหลายร้อยหลายพันปี ไม่ยักกะเบื่อกันนะ
แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า มนุษย์เราจะแต่งเพลงกันได้สักประมาณกี่เพลงกัน


ว่าแล้วก็มาลองคำนวนกันเล่นๆดูดีกว่า...
เริ่มจากลองนับโน๊ตทั้งหมดที่มี โด เร มี ฟา ซอล รา ที ถ้ารวมโน๊ตครึ่งเสียงด้วย ในหนึ่งอ็อกเทฟก็จะมีโน๊ต 12 ตัว เพลงหนึ่งๆอาจจะมีสัก 2 ออกเทฟ ถ้ามากกว่านั้นเสียงสูง-ต่ำ อาจจะห่างกันเกินไป นักร้องร้องไม่ถึง

สรุปว่าเพลงๆหนึ่งก็คงจะมีโน๊ตสัก 12x2=24 ตัวได้ ขอแถมตัวหยุดให้อีกตัวรวมเป็น 25

พูดถึงจังหวะ ส่วนมากโน๊ตที่เร็วที่สุดในเพลงก็จะเป็นโน๊ตตัวเขบ็ดสองชั้น หมายความว่า 1 จังหวะ มี 4 ตัวโน๊ต

โดยทั่วไป 1 ห้องเพลง= 4 จังหวะ ฉะนั้นก็จะมีโน๊ตตัวเขบ็ดสองชั้นอยู่ 4x4=16 ตัว

เพลงที่เบสิคที่สุดอย่างเพลงบลูส์ มักจะมีอยู่ด้วยกัน 12 ห้อง นั้นก็คือจะมีตัวเขบ็ดสองชั้นอยู่ 12x16=192 ตัว

เนื่องจากโน๊ตเขบ็ดแต่ละตัวสามาถจะเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่ โด-ที รวมถึงตัวหยุด ซึ่งมีทั้งหมด 25 ตัวตามที่คำนวนข้างต้น ฉะนั้นรูปแบบการเรียบเรียงโน๊ตที่เป็นไปได้ทั้งหมดก็คือ 25 คูณกัน 192 ครั้ง ซึ่งมีค่าประมาณ


25^192 = 2,537,941,837,315,650,000,... ตามด้วย"ศูนย์" อีก 250 ตัว!!!
หรือประมาณ สองพันห้าร้อยล้านล้านล้านล้าน พูดไปเรื่อยๆ สี่สิบห้าครั้ง!!!

.... มากมายเสียขนาดนี้ ต่อให้คนเราแต่งเพลงกันไปอีกจนโลกระเบิด ก็ไม่มีวันหมดหรอกครับ ใครที่บอกว่าเพลงเพราะๆในโลกนี้ถูกแต่งขึ้นจนหมดแล้ว แน่ใจได้หรอครับว่า เพลงที่เพราะที่สุดใน สองพันห้าร้อยล้านล้านล้านล้าน( 45 รอบ) เนี่ย ถูกแต่งขึ้นมาแล้ว


Share this article :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. ปันแทป - All Rights Reserved
Template Modify by Creating Website
Proudly powered by Blogger