เพลงมาใหม่
20:04
การเขียนแทปด้วยโปรแกรม Guitar Pro 6
บทความนี้จะเป็นวิธีเขียนแทปที่ผมใช้เขียนลงบล็อคนี้นะครับ โดยจะไล่ให้ดูแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มเปิดโปรแกรมจนทำเป็นไฟล์ pdf ออกมา
เริ่มต้น
หลังจากที่เปิดโปรแกรมออกมาแล้ว หน้าตาเจ้า Guitar Pro 6 จะเป็นดังนี้ครับ (ผมใช้แม็คบุ๊ค ดังนั้นสำหรับท่านผู้ที่ใช้วินโดวน์ หน้าตาโปรแกรมอาจจะต่างไปเล็กน้อย)
1. เปิดไฟล์ใหม่โดยเข้าไปที่ File>New>Empty
2. จากนั้นก็กรอกข้อมูลรายละเอียดเพลง แล้วกด ok (หมายเหตุ: รายละเอียดตรงนี้สามารถเข้ามาแก้ไขที่หลังได้ โดยคลิก F5 หรือเข้าไปที่ File>Score Information)
3. คลิกที่ File>StyleSheet หรือ F7 ในหมวด Chord Diagrams คลิกเพื่อลบเครื่องหมายถูกหน้า Diagram list at beginning of score จากนั้นกด ok
4. คลิกที่ Track>add จากนั้นเลือกเครื่องดนตรีที่จะใช้ ในกรณีนี้เลือกเป็น Guitars>Clean>6 Strings
จากนั้นกด add
... เอาหล่ะ เท่านี้เราก็พร้อมที่จะเขียนโน๊ตดนตรี หรือแทปได้แล้วหล่ะครับ
การเขียนโน๊ต
5. การเขียนตัวโน๊ต สามารถทำได้สามวิธีีคือ
5.1 คลิกที่บรรทัดใดบรรทัดหนึ่งในบรรทัดห้าเส้น แล้วกด enter
5.2 คลิกที่่แทปด้านล่างบรรทัดห้าเส้น โดยคลิกสายที่เราต้องการจะวางโน๊ต จากนั้นพิมพ์ตัวเลขลงไป (หมายเหตุ: สำหรับผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค ขั้นตอนนี้ผู้อ่านต้องเปลี่ยนแป้นพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะพิมพ์ตัวเลขนะครับ ผมหลงใช้ภาษาไทยอยู่บ่อยครั้ง มันจะพิมพ์ตัวเลขไม่ได้)
5.3 ใช้เครื่องดนตรีจำลอง โดยคลิกที่ Views>Fretboard/Keyboard/Drums จากนั้นคลิกตำแหน่งที่ต้องการจะกด โน๊ตดนตรีจะขึ้นให้บนบรรทัดห้าเส้นและแทปทันที
6. ปรับความยาวตัวโน๊ตโดยคลิกที่ตัวโน๊ต จากนั้นคลิกที่แถบเครื่องมือด้านซ๊ายดังรูป หรือ
7. เมื่อเสร็จสิ้นการพิมพ์โน๊ตที่จังหวะนั้นๆแล้ว คลิกลูกศรเลื่อนไปทางขวาบทแป้นคีย์บอร์ด เพื่อไปที่จังหวะต่อไป
จิปาถะ
8. เปลี่ยนคีย์เพลงคลิกที่
9. เปลี่ยนจังหวะเพลงคลิกที่
10. ปรับไดนามิกส์หนักเบาของโน๊ต คลิกเลือกที่
11. ใส่ชื่อคอร์ด โดยคลิกโน๊ตในตำแหน่งที่ต้องการจะใส่คอร์ด จากนั้นกด shift และ A พร้อมกัน แก้ชื่อคอร์ดตามต้องการ จากนั้นกด ok
12. การทำโน๊ตสไลด์ คลิกเลือกที่
13. ปรับจังหวะ คลิกที่มุมล่างซ๊ายดังรูป
14. เครื่องหมาย Metronome (เครื่องเคาะจังหวะ)ข้างๆปุ่มปรับจังหวะ: คลิกให้เป็นสีดำเพื่อปิด Metronome คลิกให้เป็นสีน้ำเงินเพื่อโปิด โดยตัวด้านขวาที่มีรูปนาฬิกาอยู่คือจะนับจังหวะก่อน 4 จังหวะ ก่อนที่จะเริ่มเล่นเพลง ในขณะที่ตัวด้านซ๊ายจะเริ่มเล่นเพลงเลย
15. สายเปิด(Alternative Tuning) หรือคาโป้ สามารถปรับได้ที่รูปกีต้าร์ด้านซ๊ายมือ
ส่งออกไฟล์
16. คลิกที่ File>Export จากนั้นเลือกรูปแบบไฟล์ที่ท่านต้องการส่งออก
..... เป็นไงครับ ไม่ยากใช่ไหม เท่านี้เราก็ได้แทปเพลงเป็นของตัวเองแล้วครับ
เริ่มต้น
หลังจากที่เปิดโปรแกรมออกมาแล้ว หน้าตาเจ้า Guitar Pro 6 จะเป็นดังนี้ครับ (ผมใช้แม็คบุ๊ค ดังนั้นสำหรับท่านผู้ที่ใช้วินโดวน์ หน้าตาโปรแกรมอาจจะต่างไปเล็กน้อย)
1. เปิดไฟล์ใหม่โดยเข้าไปที่ File>New>Empty
2. จากนั้นก็กรอกข้อมูลรายละเอียดเพลง แล้วกด ok (หมายเหตุ: รายละเอียดตรงนี้สามารถเข้ามาแก้ไขที่หลังได้ โดยคลิก F5 หรือเข้าไปที่ File>Score Information)
3. คลิกที่ File>StyleSheet หรือ F7 ในหมวด Chord Diagrams คลิกเพื่อลบเครื่องหมายถูกหน้า Diagram list at beginning of score จากนั้นกด ok

จากนั้นกด add
... เอาหล่ะ เท่านี้เราก็พร้อมที่จะเขียนโน๊ตดนตรี หรือแทปได้แล้วหล่ะครับ
การเขียนโน๊ต
5. การเขียนตัวโน๊ต สามารถทำได้สามวิธีีคือ
5.1 คลิกที่บรรทัดใดบรรทัดหนึ่งในบรรทัดห้าเส้น แล้วกด enter
5.2 คลิกที่่แทปด้านล่างบรรทัดห้าเส้น โดยคลิกสายที่เราต้องการจะวางโน๊ต จากนั้นพิมพ์ตัวเลขลงไป (หมายเหตุ: สำหรับผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค ขั้นตอนนี้ผู้อ่านต้องเปลี่ยนแป้นพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะพิมพ์ตัวเลขนะครับ ผมหลงใช้ภาษาไทยอยู่บ่อยครั้ง มันจะพิมพ์ตัวเลขไม่ได้)
5.3 ใช้เครื่องดนตรีจำลอง โดยคลิกที่ Views>Fretboard/Keyboard/Drums จากนั้นคลิกตำแหน่งที่ต้องการจะกด โน๊ตดนตรีจะขึ้นให้บนบรรทัดห้าเส้นและแทปทันที
6. ปรับความยาวตัวโน๊ตโดยคลิกที่ตัวโน๊ต จากนั้นคลิกที่แถบเครื่องมือด้านซ๊ายดังรูป หรือ
- กด shift และ + พร้อมกัน เพื่อเปลี่ยนโน๊ตให้เร็วขึ้น
- กด - เพื่อเปลี่ยนโน๊ตให้ช้าลง
- กด R เพื่อเปลี่ยนโน๊ตให้เป็นตัวหยุด
7. เมื่อเสร็จสิ้นการพิมพ์โน๊ตที่จังหวะนั้นๆแล้ว คลิกลูกศรเลื่อนไปทางขวาบทแป้นคีย์บอร์ด เพื่อไปที่จังหวะต่อไป
จิปาถะ
8. เปลี่ยนคีย์เพลงคลิกที่

9. เปลี่ยนจังหวะเพลงคลิกที่

10. ปรับไดนามิกส์หนักเบาของโน๊ต คลิกเลือกที่

11. ใส่ชื่อคอร์ด โดยคลิกโน๊ตในตำแหน่งที่ต้องการจะใส่คอร์ด จากนั้นกด shift และ A พร้อมกัน แก้ชื่อคอร์ดตามต้องการ จากนั้นกด ok
12. การทำโน๊ตสไลด์ คลิกเลือกที่

13. ปรับจังหวะ คลิกที่มุมล่างซ๊ายดังรูป
14. เครื่องหมาย Metronome (เครื่องเคาะจังหวะ)ข้างๆปุ่มปรับจังหวะ: คลิกให้เป็นสีดำเพื่อปิด Metronome คลิกให้เป็นสีน้ำเงินเพื่อโปิด โดยตัวด้านขวาที่มีรูปนาฬิกาอยู่คือจะนับจังหวะก่อน 4 จังหวะ ก่อนที่จะเริ่มเล่นเพลง ในขณะที่ตัวด้านซ๊ายจะเริ่มเล่นเพลงเลย
15. สายเปิด(Alternative Tuning) หรือคาโป้ สามารถปรับได้ที่รูปกีต้าร์ด้านซ๊ายมือ
ส่งออกไฟล์
16. คลิกที่ File>Export จากนั้นเลือกรูปแบบไฟล์ที่ท่านต้องการส่งออก
..... เป็นไงครับ ไม่ยากใช่ไหม เท่านี้เราก็ได้แทปเพลงเป็นของตัวเองแล้วครับ
18:20
(B) ฤดูที่ฉันเหงา
เป็นอีกเพลงหนึ่งคับที่ได้เสียงตอบรับดีพอสมควร ส่วนตัวผมชอบเพลงนี้มากเป็นพิเศษ ด้วยเพลงที่มี range ที่กว้างและนุ่มลึก เลยทำออกมาแบบเพลงช้าเหงาๆครับ เพลงนี้อาจจะยากตอนท่อนแรกที่เป็น Tremolo และก็เรื่องของจังหวะครับ แนะว่าให้เปิดเครื่องเคาะไปด้วยจะช่วยได้มาก
*คลิกขวาที่แทป และเปิดขึ้นที่หน้าใหม่เพื่อขยายแทปให้ใหญ่ขึ้น
15:03
จับคอร์ดอย่างไรไ่ม่ให้บอด
หลักการจับคอร์ดไม่ให้บอร์ด มีข้อสำคัญอยู่ไม่กี่ข้อ
- ฝึกจับบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีกำลัง
- โก่งนิ้ว เพื่อไม่ให้นิ้วไปทับสายอื่น
- ใช้นิ้วโป้งช่วย
10:18
การดีดรัวสามนิ้ว
เทคนิคนี้มักใช้กับเพลงลาติน หรือในจังหวะที่เราต้องการเสียงที่อลังการเป็นพิเศษ ผมใช้เทคนิคนี้เล็กน้อยในเพลง ฤดูร้อน ลองเข้าไปดูตัวอย่างกันได้ครับ
1. วิธีการเล่น
1. วิธีการเล่น
10:17
การเล่นจังหวะบอสซ่า
จังหวะบอสซ่าเหมาะกับเพลงที่มีลักษณะชิวๆ ถือว่าใช้ได้ในหลายๆเพลงและน่าฝีกครับ ผมใช้จังหวะนี้ในเพลง ภาษาดอกไม้ ลองเข้าไปดูตัวอย่างกันได้ครับ
1. วิธีการเล่น
1. วิธีการเล่น
10:17
การเล่นจังหวะชะ ชะ ช่า
จังหวะ ชะชะช่า หรือ 3 ช่า เรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือดคนไทยอย่างเรากันอยู่แล้ว ไม่ฝึกไม่ได้หล่ะครับจังหวะนี้ ตัวอย่างของเพลงที่ใช้จังหวะนี้ก็ได้แก่ ซมซานของเสกโลโซ หรืออีกหลายๆเพลงของคาราบาว
1. วิธีการเล่น
1. วิธีการเล่น
10:16
การเล่นโน๊ตและตบสาย ในการดีดทีเดียว
เทคนิคหนึ่งที่ผมใช้บ่อยมากในการเล่นฟิงเกอร์สไตล์ ก็คือการเล่นโน๊ตไปพร้อมกับการตบสาย ทำให้สามารถตบสายไปเรื่อยๆได้โดยไม่ติดขัด เทคนิคนี้ฝึกไม่ยากครับ ลองมาดูกันเลย
0. รู้ได้อย่างไรว่าจะใช้เทคนิคนี้ตอนไหน?
0. รู้ได้อย่างไรว่าจะใช้เทคนิคนี้ตอนไหน?
- สังเกตจากในแทปครับ ตรงไหนก็ตามที่เป็นตัวเลข กับเครื่องหมาย x (ตบสาย) ขึ้นมาที่จังหวะเดียวกัน ก็แสดงว่าจังหวะนั้นต้องใช้เทคนิคนี้ ลองดูตัวอย่างด้านล่าง
1. วิธีการเล่น
03:18
ในบทความนี้เราจะมาพูดกันเรื่องของไม้โซลิด(Solid Woods) และไม้ลามิเนด(Laminate Woods) ครับ คร่าวๆก็คือว่าไม้โซลิดคือไม้ที่ตัดมาเป็นแผ่นใหญ่ๆแผ่นเดียวแล้วเอามาตัดเป็นตัวกีต้าร์เลย ส่วนไม้ลามิเนดนั้นก็คือไม้ที่เกิดจากไม้แผ่นเล็กๆมาซ้อนทับกันครับ แน่นอนว่าไม้โซลิดจะให้เสียงที่ดีและมีราคาแพงกว่าไม้ลามิเนด ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าเสียงที่ดีกว่าของไม้โซลิดนั้นจะคุ้มค่ากับราคาที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวด้วยหรือเปล่า
หมายเหตุ: ข้อมูลต่อไปนี้แปลมาจากเว็ปไซท์ http://rockhousemethod.blogspot.co.uk/2008/05/acoustic-guitars-laminated-wood-versus.html
ประเด็นถกเถียงที่ยังไม่รู้จบ
ไม้ลามิเนดนั้นคือไม้ที่เกิดจากแผ่นไม้หลายๆมาเชื่อมเข้าด้วยกัน ในขณะที่ไม้โซลิดคือไม้แผ่นใหญ่แผ่นเดียว ไม้ทั้งสองชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เป็นที่รู้กันว่าไม้ลามิเนดจะใช้เสียงที่ไร้ชีวิตชีวาและแคบ ในขณะที่ไม้โซลิตนั้นขึ้นชื่อในเรื่องของความมีมิติของเสียง อย่างไรก็ตามไม้ลามิเนดเป็นที่นิยมมากกว่าเนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความชื้นและอุณหภูมิ ส่วนไม้โซลิดนั้นตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความชื้นและอุณหภูมิไวมาก โดยเฉพาะไม้ส่วนหน้าของลำตัวกีต้าร์นั้นต้องระวังไม่ให้แห้งเกินไปอย่างเด็ดขาด
เกร็ดประวัติศาสตร์
หลายปีที่ผ่านมาประเด็นการถกเถียงมักจะไม่เกี่ยวกับคุณภาพของเสียงเท่าไหรนัก แต่มักจะเกี่ยวข้องกับราคา ไม้โซลิดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นไปตามเวลา ทำให้นักดนตรีส่วนนใหญ่ไม่มีทางเลือก ต้องซื้อกีต้าร์ที่ทำจากไม้ลามิเนดเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม้ลามิเนดก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นตามยุคสมัยให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นความจริงที่ว่าไม้ลามิเนดยังไงก็ไม่สามารถดีเท่าไม้โซลิดได้
แก่นของปัญหา
เวลาสร้างกีต้าร์ เราต้องการให้ไม้ด้านหน้าของลำตัวกีต้าร์ (Top Woods) มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการที่จะทำให้ไม้ลามิเนดแข็งแรงมันมักจะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย กาวที่ใช้เชื่อมสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้ถ้าใช้มากเกิน ถ้าใช้น้อยเกินไม้ก็จะแยกออกจากกัน ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นหลักที่อุตสาหกรรมกีต้าร์แข่งขันกัน
คอกีต้าร์
คอกีต้าร์อะคูสติกที่ทำจากไม้ลามิเนดนั้นค่อนข้างเป็นที่นิยม เนื่องคุณภาพของเสียงกีต้าร์เกือบ 90% มาจากลำตัวกีต้าร์ ตราบเท่าที่ลำตัวกีต้าร์ทำด้วยไม้โซลิด เราก็ยังจะได้เสียงที่มีคุณภาพจากกีต้าร์อยู่ นี่ถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการทำกีต้าร์ราคาถูก
จะสังเกตอย่างไรว่าเป็นไม้โซลิดหรือไม้ลามิเนด?
สำหรับไม้ด้านหน้าของลำตัวกีต้าร์ ให้สังเกตดูที่ขอบของช่องเสียง (Sound Hole) ถ้ามีลักษณะเป็นแผ่นไม้หลายๆแผ่นซ้อนกันก็เป็นลามิเนด ถ้าเป็นแผ่นเดียวก็เป็นโซลิด ส่วนไม้ด้านหลังและด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ให้ ให้มองดูที่ด้านนอกของลำตัวก่อน จากนั้นมองเข้าไปในช่องเสียงแล้วดูว่าลายไม้ด้านนอกกับด้านในเป็นลายเดียวกันหรือเปล่า ถ้าลายเดียวกันแสดงว่าเป็นไม้โซลิด
เกร็ดความรู้: ไม้โซลิดและไม้ลามิเนด
ในบทความนี้เราจะมาพูดกันเรื่องของไม้โซลิด(Solid Woods) และไม้ลามิเนด(Laminate Woods) ครับ คร่าวๆก็คือว่าไม้โซลิดคือไม้ที่ตัดมาเป็นแผ่นใหญ่ๆแผ่นเดียวแล้วเอามาตัดเป็นตัวกีต้าร์เลย ส่วนไม้ลามิเนดนั้นก็คือไม้ที่เกิดจากไม้แผ่นเล็กๆมาซ้อนทับกันครับ แน่นอนว่าไม้โซลิดจะให้เสียงที่ดีและมีราคาแพงกว่าไม้ลามิเนด ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าเสียงที่ดีกว่าของไม้โซลิดนั้นจะคุ้มค่ากับราคาที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวด้วยหรือเปล่า
หมายเหตุ: ข้อมูลต่อไปนี้แปลมาจากเว็ปไซท์ http://rockhousemethod.blogspot.co.uk/2008/05/acoustic-guitars-laminated-wood-versus.html
ประเด็นถกเถียงที่ยังไม่รู้จบ
ไม้ลามิเนดนั้นคือไม้ที่เกิดจากแผ่นไม้หลายๆมาเชื่อมเข้าด้วยกัน ในขณะที่ไม้โซลิดคือไม้แผ่นใหญ่แผ่นเดียว ไม้ทั้งสองชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เป็นที่รู้กันว่าไม้ลามิเนดจะใช้เสียงที่ไร้ชีวิตชีวาและแคบ ในขณะที่ไม้โซลิตนั้นขึ้นชื่อในเรื่องของความมีมิติของเสียง อย่างไรก็ตามไม้ลามิเนดเป็นที่นิยมมากกว่าเนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความชื้นและอุณหภูมิ ส่วนไม้โซลิดนั้นตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความชื้นและอุณหภูมิไวมาก โดยเฉพาะไม้ส่วนหน้าของลำตัวกีต้าร์นั้นต้องระวังไม่ให้แห้งเกินไปอย่างเด็ดขาด
เกร็ดประวัติศาสตร์
หลายปีที่ผ่านมาประเด็นการถกเถียงมักจะไม่เกี่ยวกับคุณภาพของเสียงเท่าไหรนัก แต่มักจะเกี่ยวข้องกับราคา ไม้โซลิดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นไปตามเวลา ทำให้นักดนตรีส่วนนใหญ่ไม่มีทางเลือก ต้องซื้อกีต้าร์ที่ทำจากไม้ลามิเนดเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม้ลามิเนดก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นตามยุคสมัยให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นความจริงที่ว่าไม้ลามิเนดยังไงก็ไม่สามารถดีเท่าไม้โซลิดได้
แก่นของปัญหา
เวลาสร้างกีต้าร์ เราต้องการให้ไม้ด้านหน้าของลำตัวกีต้าร์ (Top Woods) มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการที่จะทำให้ไม้ลามิเนดแข็งแรงมันมักจะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย กาวที่ใช้เชื่อมสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้ถ้าใช้มากเกิน ถ้าใช้น้อยเกินไม้ก็จะแยกออกจากกัน ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นหลักที่อุตสาหกรรมกีต้าร์แข่งขันกัน
คอกีต้าร์
คอกีต้าร์อะคูสติกที่ทำจากไม้ลามิเนดนั้นค่อนข้างเป็นที่นิยม เนื่องคุณภาพของเสียงกีต้าร์เกือบ 90% มาจากลำตัวกีต้าร์ ตราบเท่าที่ลำตัวกีต้าร์ทำด้วยไม้โซลิด เราก็ยังจะได้เสียงที่มีคุณภาพจากกีต้าร์อยู่ นี่ถือเป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการทำกีต้าร์ราคาถูก
จะสังเกตอย่างไรว่าเป็นไม้โซลิดหรือไม้ลามิเนด?
สำหรับไม้ด้านหน้าของลำตัวกีต้าร์ ให้สังเกตดูที่ขอบของช่องเสียง (Sound Hole) ถ้ามีลักษณะเป็นแผ่นไม้หลายๆแผ่นซ้อนกันก็เป็นลามิเนด ถ้าเป็นแผ่นเดียวก็เป็นโซลิด ส่วนไม้ด้านหลังและด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ให้ ให้มองดูที่ด้านนอกของลำตัวก่อน จากนั้นมองเข้าไปในช่องเสียงแล้วดูว่าลายไม้ด้านนอกกับด้านในเป็นลายเดียวกันหรือเปล่า ถ้าลายเดียวกันแสดงว่าเป็นไม้โซลิด
07:54
เกร็ดความรู้: ไม้สำหรับใช้ทำกีต้าร์ (๑)
เวลาเลือกซื้อกีต้าร์ตัวใหม่หรือดูรีวิวกีต้าร์ เคยสงสัยไหมครับว่าไม้ที่มีชื่อเรียกต่างๆนาๆนั้นมีผลอย่างไรกับเสียงบ้าง ในบทความชุดนี้เราจะมาดูกันครับว่า ไม้ที่ใช้ทำกีต้าร์มีอะไรบ้าง และแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร โดยในบทความแรกนี้จะพูดถึงไม้ที่ใช้ทำลำตัวกีต้าร์(Body Woods) กันก่อน ซึ่งก็คือด้านข้างกับด้านหลังของกีต้าร์ ลองติดตามกันดูครับ
หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดแปลมาจากเว็ปไซท์ www.taylorguitars.com
1. มะฮอกกานี่เขตร้อนชื้น (Tropical Mahagony)
มะฮอกกานี่เป็นไม้ที่ให้เสียงที่ใช้เป็นมาตรฐานของเสียงกีต้าร์ เรามักจะอธิบายเสียงของไม้พันธุ์อื่นๆโดยเทียบจากเสียงจากไม้พันธุ์นี้ ลักษณะเด่นของไม้พันธุ์นี้คือให้เสียงที่ความถี่อยู่ในย่านกลาง กีต้าร์อะคูลติกโดยทั่วไปมักจะให้เสียงที่ความถี่อยู่ในย่านนี้ แต่ไม้มะฮอกกานีจะให้ความโดดเด่นของเสียงที่โดดเด่นในย่านนี้เป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นซุ้มเสียงที่หนา มีชีวิตชีวาและฟังสบาย ไม่ว่าผู้เล่นกำลังเล่นอยู่บนส่วนไหนของคอกีต้าร์ ลำตัวกีต้าร์ก็จะสั่นพ้องไปด้วยเสมอ ความถี่ย่านกลางนี้ยังช่วยให้เกิดเสียงสูงคู่แปดผสมไปด้วยทำให้เสียงฟังดูกว้างขึ้น และยิ่งทวีความมีชีวิตชีวาเข้าไปด้วย ด้วยเหตุนี้ไม้มะฮอกกานี่จึงเป็นไม้ต้นแบบของกีต้าร์ และในสมัยก่อนถูกใช้สำหรับทำการบันทึกเสียงเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังสามารถเล่นได้กับดนตรีหลายหลายแนวตั้งแต่บลูส์, โฟรค หรือเพลงช้า
เหมาะสำหรับ: ผู้เล่นในหลากหลายสไตล์ คนทีชอบเสียงที่มีความสมดุลสูง มีพลวัต(หนัก-เบา)ที่ดี และต้องการเสียงผสมของคู่แปด ผู้เล่นในสไตล์บลูส์และแนวพื้นฐานอื่นๆมักจะให้เสียงตอบรับที่ดีสำหรับเสียงความถี่ย่านกลางของมะฮอกกานี่นี้ สำหรับกีต้าร์มะฮอกกานี่ที่ตัวเล็กอาจจะเหมาะกับผู้เล่นแนวฟิงเกอร์สไตล์ ในขณะที่ผู้เล่นที่ชอบการตีคอร์ดอาจจะเหมาะกับกีต้าร์ทรงเดรทนอท (Dreadnought) นอกจากนี้ความถี่ย่านกลางของมะฮอกกะนี่จะทำให้ผู้เล่นที่ชอบเล่นเสียงเข้มๆฟังดูเข้มขึ้น ในขณะที่ผู้ที่ชอบเล่นเสียงใสๆ จะเล่นออกมาใสน้อยลงเล็กน้อย
2. อินเดียน โรสวูด (Indian Rosewood)
หนึ่งในไม้ที่นิยมใช้ทำกีต้าร์ตลอดกาล ไม้โรสวูดมีลักษณะเสียงพื้นฐานของไม้มะฮอกกานี่ซึ่งโดดเด่นในความถี่ย่านกลาง แต่ขยายออกไปทั้งในย่านสูงและย่านต่ำ ไม้โรสวูดให้เสียงที่ลึกขึ้นในย่านต่ำ และใสขึ้นในย่านสูง ถ้าเรามองดูกราฟความถี่ของเสียงจะพบว่า เสียงจากไม้โรสวูดมีความถี่ย่านกลางที่น้อยกว่ามะฮอกกานี่ อย่างไรก็ตามไม้โรสวูดนี้ก็เป็นตำนานไม่แพ้มะฮอกกานี่ และโรสวูดนี้ถือว่าเป็นเสาหลักสำหรับดนตรีพื้นเมืองในหลายแถบเช่นอเมริกาตอนกลาง ต้นโรสวูดเป็นต้นไม้ที่เติบโตได้ง่ายเช่นเดียวกับต้นมะฮอกกานี่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนนิยมใช้กัน ผู้เล่นสามารถเกาหรือตีคอร์ดได้อย่างไม่ต้องกังวลใดๆ
เหมาะสำหรับ: เกือบทุกการใช้งาน ถ้าคุณชอบเสียงกีต้าร์ที่มีเสียงเบสต่ำหน่อยและเสียงสูงที่ใส โรสวูดคือตัวเลือกของคุณ คนที่ชอบเล่นเสียงเข้มๆดุดันจะได้ประโยชน์จากตรงส่วนนี้ด้วย ถ้าคุณกำลังมองหากีต้าร์ที่ให้เสียงตามแบบฉบับดังเดิม กีต้าร์โรสวูดทรงเดรทนอท(Dreadnought)หรือแกรนออดิทอเรี่ยม(Grand Auditorium) จะเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ
3. แซพีลี่ (Sapele)
ไม้ทางเลือกที่เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตของเทลเลอร์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บางครั้งผู้คนมักจะเข้าใจผิดว่าไม้พันธุ์นี้คือแอฟริกามะฮอกกานี่ (African mahogany) เพราะว่ามีความคล้ายคลึงกับไม้คายา(Khaya)ในทางตะวันตกของแอฟริกาซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าแอฟริกามะฮอกกานี่ ไม้แซพีลี่เป็นไม้ที่อนุรักษ์ได้ง่าย เติบโตรวดเร็ว และให้เสียงเหมือนกับมะฮอกกานี่ทุกประการ กอปรกับความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เราสามารถใช้ไม้นี้ในการผลิตกีต้าร์ได้อีกเป็นระยะเวลานาน
เหมาะสำหรับ: ผู้เล่นทุกสไตล์เช่นเดียวกับไม้โอวางโคล(ovangkol) ความเป็นอเนกประสงค์ของเสียงจากไม้นี้ทำให้เสียงจากไม้นี้มีความสม่ำเสมอ สมดุล หมายสำหรับการเล่นในหลายรูปแบบตั้งแต่เกาจนถึงตีคอร์ด
4. เมเปิลใบใหญ่ (Big Leaf Maple)
เมเปิลเป็นไม้ที่แข็งและมีความหนาแน่นสูง เสียงจากไม้เมเปิลนั้นเทียบได้กับแสงเลเซอร์ ในแง่ที่มีความโฟกัสสูงมากและโดดเด่นในโครงสร้างพื้นฐาน และขึ้นชื่อในเรื่องความใส เสียงจากไม้เมเปิลมีเสียงคู่แปดน้อยกว่าไม้ที่ความหนาแน่นปานกลางพันธุ์อื่นๆ ทำให้เสียงออกมากระชับขึ้น นิยมใช้ในการแสดงสดหรือในการแสดงที่ต้องเล่นเป็นวง โดยเฉพาะกับเบส กลองและกีต้าร์ไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเอาไปมิกส์ต่อได้ง่าย และทำให้ได้ยินเสียงอะคูสติกกีต้าร์ นอกจากนั้นยังลดปัญหาการสะท้อนกลับของเสียง(feedback) ไม้นี้มีเสียงมีเสียงในย่านกลางอยู่บ้าง และเสียงจะแหลมกว่าโรสวูดมาก
5. โอวางคอล (Ovangkol)
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เทลเลอร์ได้นำเสนอไม้ทำกีต้าร์ชนิดใหม่ที่ง่ายแก่การอนุรักษ์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อโอวางคอล เป็นไม้ที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกันกับโรสวูด ไม้พันธุ์ให้เสียงที่ดีโดยเป็นเสียงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเสียงจากโรสวูดหลายประการ กอปรกับเสียงความถี่ย่านกลางที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยและความที่ย่านสูงที่ไม่ใสเท่าเมเปิล เนื่องจากไม้พันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าโรสวูด โอวางคอลจึงไม่ได้รับความนิยมอยู่เป็นเวลาหลายปี ทำให้เป็นที่ท้าทายในหมู่แฟนๆของเทเลอร์ที่จะทดลองใช้กัน
เหมาะสำหรับ: หลากหลายการใช้งาน ผู้เล่นที่อาจจะยังไม่มีวิธีการเล่นเฉพาะตัว หรือเล่นได้ทุกแนวที่กำลังหากีต้าร์ที่ใช้เล่นได้หลากหลาย ไม้ชนิดนี้จะเหมาะกับกีต้าร์ในหลากหลายทรงอีกด้วย
-------------------------------------------------------------
ไม้ที่ใช้ทำกีต้าร์ยังไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ ในบทความหน้าจะเอามาให้อ่านเพิ่มเติมอีกนะครับ
หมายเหตุ: ข้อมูลทั้งหมดแปลมาจากเว็ปไซท์ www.taylorguitars.com
1. มะฮอกกานี่เขตร้อนชื้น (Tropical Mahagony)
มะฮอกกานี่เป็นไม้ที่ให้เสียงที่ใช้เป็นมาตรฐานของเสียงกีต้าร์ เรามักจะอธิบายเสียงของไม้พันธุ์อื่นๆโดยเทียบจากเสียงจากไม้พันธุ์นี้ ลักษณะเด่นของไม้พันธุ์นี้คือให้เสียงที่ความถี่อยู่ในย่านกลาง กีต้าร์อะคูลติกโดยทั่วไปมักจะให้เสียงที่ความถี่อยู่ในย่านนี้ แต่ไม้มะฮอกกานีจะให้ความโดดเด่นของเสียงที่โดดเด่นในย่านนี้เป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นซุ้มเสียงที่หนา มีชีวิตชีวาและฟังสบาย ไม่ว่าผู้เล่นกำลังเล่นอยู่บนส่วนไหนของคอกีต้าร์ ลำตัวกีต้าร์ก็จะสั่นพ้องไปด้วยเสมอ ความถี่ย่านกลางนี้ยังช่วยให้เกิดเสียงสูงคู่แปดผสมไปด้วยทำให้เสียงฟังดูกว้างขึ้น และยิ่งทวีความมีชีวิตชีวาเข้าไปด้วย ด้วยเหตุนี้ไม้มะฮอกกานี่จึงเป็นไม้ต้นแบบของกีต้าร์ และในสมัยก่อนถูกใช้สำหรับทำการบันทึกเสียงเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังสามารถเล่นได้กับดนตรีหลายหลายแนวตั้งแต่บลูส์, โฟรค หรือเพลงช้า
เหมาะสำหรับ: ผู้เล่นในหลากหลายสไตล์ คนทีชอบเสียงที่มีความสมดุลสูง มีพลวัต(หนัก-เบา)ที่ดี และต้องการเสียงผสมของคู่แปด ผู้เล่นในสไตล์บลูส์และแนวพื้นฐานอื่นๆมักจะให้เสียงตอบรับที่ดีสำหรับเสียงความถี่ย่านกลางของมะฮอกกานี่นี้ สำหรับกีต้าร์มะฮอกกานี่ที่ตัวเล็กอาจจะเหมาะกับผู้เล่นแนวฟิงเกอร์สไตล์ ในขณะที่ผู้เล่นที่ชอบการตีคอร์ดอาจจะเหมาะกับกีต้าร์ทรงเดรทนอท (Dreadnought) นอกจากนี้ความถี่ย่านกลางของมะฮอกกะนี่จะทำให้ผู้เล่นที่ชอบเล่นเสียงเข้มๆฟังดูเข้มขึ้น ในขณะที่ผู้ที่ชอบเล่นเสียงใสๆ จะเล่นออกมาใสน้อยลงเล็กน้อย
2. อินเดียน โรสวูด (Indian Rosewood)
เหมาะสำหรับ: เกือบทุกการใช้งาน ถ้าคุณชอบเสียงกีต้าร์ที่มีเสียงเบสต่ำหน่อยและเสียงสูงที่ใส โรสวูดคือตัวเลือกของคุณ คนที่ชอบเล่นเสียงเข้มๆดุดันจะได้ประโยชน์จากตรงส่วนนี้ด้วย ถ้าคุณกำลังมองหากีต้าร์ที่ให้เสียงตามแบบฉบับดังเดิม กีต้าร์โรสวูดทรงเดรทนอท(Dreadnought)หรือแกรนออดิทอเรี่ยม(Grand Auditorium) จะเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ
3. แซพีลี่ (Sapele)
ไม้ทางเลือกที่เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตของเทลเลอร์ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บางครั้งผู้คนมักจะเข้าใจผิดว่าไม้พันธุ์นี้คือแอฟริกามะฮอกกานี่ (African mahogany) เพราะว่ามีความคล้ายคลึงกับไม้คายา(Khaya)ในทางตะวันตกของแอฟริกาซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าแอฟริกามะฮอกกานี่ ไม้แซพีลี่เป็นไม้ที่อนุรักษ์ได้ง่าย เติบโตรวดเร็ว และให้เสียงเหมือนกับมะฮอกกานี่ทุกประการ กอปรกับความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เราสามารถใช้ไม้นี้ในการผลิตกีต้าร์ได้อีกเป็นระยะเวลานาน
เหมาะสำหรับ: ผู้เล่นทุกสไตล์เช่นเดียวกับไม้โอวางโคล(ovangkol) ความเป็นอเนกประสงค์ของเสียงจากไม้นี้ทำให้เสียงจากไม้นี้มีความสม่ำเสมอ สมดุล หมายสำหรับการเล่นในหลายรูปแบบตั้งแต่เกาจนถึงตีคอร์ด
4. เมเปิลใบใหญ่ (Big Leaf Maple)
เมเปิลเป็นไม้ที่แข็งและมีความหนาแน่นสูง เสียงจากไม้เมเปิลนั้นเทียบได้กับแสงเลเซอร์ ในแง่ที่มีความโฟกัสสูงมากและโดดเด่นในโครงสร้างพื้นฐาน และขึ้นชื่อในเรื่องความใส เสียงจากไม้เมเปิลมีเสียงคู่แปดน้อยกว่าไม้ที่ความหนาแน่นปานกลางพันธุ์อื่นๆ ทำให้เสียงออกมากระชับขึ้น นิยมใช้ในการแสดงสดหรือในการแสดงที่ต้องเล่นเป็นวง โดยเฉพาะกับเบส กลองและกีต้าร์ไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเอาไปมิกส์ต่อได้ง่าย และทำให้ได้ยินเสียงอะคูสติกกีต้าร์ นอกจากนั้นยังลดปัญหาการสะท้อนกลับของเสียง(feedback) ไม้นี้มีเสียงมีเสียงในย่านกลางอยู่บ้าง และเสียงจะแหลมกว่าโรสวูดมาก
5. โอวางคอล (Ovangkol)
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เทลเลอร์ได้นำเสนอไม้ทำกีต้าร์ชนิดใหม่ที่ง่ายแก่การอนุรักษ์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อโอวางคอล เป็นไม้ที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกันกับโรสวูด ไม้พันธุ์ให้เสียงที่ดีโดยเป็นเสียงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเสียงจากโรสวูดหลายประการ กอปรกับเสียงความถี่ย่านกลางที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยและความที่ย่านสูงที่ไม่ใสเท่าเมเปิล เนื่องจากไม้พันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันน้อยกว่าโรสวูด โอวางคอลจึงไม่ได้รับความนิยมอยู่เป็นเวลาหลายปี ทำให้เป็นที่ท้าทายในหมู่แฟนๆของเทเลอร์ที่จะทดลองใช้กัน
เหมาะสำหรับ: หลากหลายการใช้งาน ผู้เล่นที่อาจจะยังไม่มีวิธีการเล่นเฉพาะตัว หรือเล่นได้ทุกแนวที่กำลังหากีต้าร์ที่ใช้เล่นได้หลากหลาย ไม้ชนิดนี้จะเหมาะกับกีต้าร์ในหลากหลายทรงอีกด้วย
-------------------------------------------------------------
ไม้ที่ใช้ทำกีต้าร์ยังไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ ในบทความหน้าจะเอามาให้อ่านเพิ่มเติมอีกนะครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)